Welcome

Buddha's Words

 
The Buddha's Words in the Dhammapada 

by Sathearnpong Wannapok


THE PAIRS

๑. มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
มโนเสฎฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปทุฎฺฌฐน
ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ ทุกฺขมเนฺวติ
จกฺกํว วหโต ปทํ ฯ ๑ ฯ

ใจเป็นผู้นำสรรพสิ่ง
ใจเป็นใหญ่ (กว่าสรรพสิ่ง)
สรรพสิ่งสำเร็จได้ด้วยใจ
ถ้าพูดหรือทำสิ่งใดด้วยใจชั่ว
ความทุกข์ย่อมติดตามตัวเขา
เหมือนล้อหมุนเต้าตามเท้าโค

Mind foreruns all mental conditions,
Mind is chief, mind-made are they;
If one speak or acts with a wicked mind,
Then suffering follows him
Even as the wheel the hoof of the ox.

๒. มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา
มโนเสฎฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปสนฺเนน
ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ สุขมเนฺวติ
ฉายาว อนปายินี ฯ ๒ * ฯ

ใจเป็นผู้นำสรรพสิ่ง
ใจเป็นใหญ่ (กว่าสรรพสิ่ง)
ถ้าพูดหรือทำสิ่งใดด้วยใจบริสุทธิ์
ความสุขย่อมติดตามเขา
เหมือนเงาติดตามตน

Mind forerunr all mental conditions,
Mind is chief,mind-made are they;
If one speaks or acts with a pure mind,
Then happiness follows him
Even as the shadow that never leaves.

* พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐเขียน อนุปายินี แปลว่า ติดตาม
แต่ฉบับของสมาคมบาลีปกรณ์เขียน อนปายินี (อนฺ+อป+อี)
แปลว่า ไม่พราก หรือติดตามนั่นแล ในที่นี้ข้าพเจ้าถือตามฉบับหลัง

๓. อกฺโกฉิ มํ อวธิ มํ
อชินิ มํ อหาสิ เม
เข จ ตํ อุปนยฺหนฺติ
เวรํ เตสํ น สมฺมติ ฯ ๓ ฯ

ใครมัวคิดอาฆาตว่า
"มันด่าเรา มันทำร้ายเรา
มันเอาชนะเรา มันขโมยของเรา"
เวรของเขาไม่มีทางระงับ

'He abused me, he beat me,
He defeated me, he robbed me'
In those who harbour such thoughts
Hatred never ceases.

๔. อกฺโกฉิ มํ อวธิ มํ
อชินิ มํ อหาสิ มํ
เข จ ตํ นูปนยฺหนฺติ
เวรํ เตสูปสมฺมติ ฯ ๔ ฯ

ใครไม่คิดอาฆาตว่า
"มันด่าเรา มันทำร้ายเรา
มันเอาชนะเรา มันขโมยของเรา"
เวรของเขาย่อมระงับ

'Heabused me, he beat me,
He defeated me, he robbed me'
In those who harbour not such thoughts
Hatred finds its end.

๕. น หิ เวเรน เวรานิ
สมฺมนฺตีธ กุทาจนํ
อเวเรน จ สมฺมนฺติ
เอส ธมฺโม สนนฺตโน ฯ ๕ ฯ

แต่ไหนแต่ไรมา ในโลกนี้
เวรไม่มีระงับด้วยการจองเวร
มีแต่ระงับด้วยการไม่จองเวร
นี้เป็นกฎเกณฑ์ตายตัว

At any time in this world,
Hatred never ceases by haterd,
But through non-hatred it ceases,
This is an eternal law.

๖. ปเร จ น วิชานนฺติ
มยเมตฺถ ยมามเส
เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ
ตโต สมฺมนฺติ เมธคา ฯ ๖ ฯ

คนทั่วไปมักนึกไม่ถึงว่า ตนกำลังพินาศ
เพราะวิวาททุ่มเถึยงกัน
ส่วนผ้ร้ความจริงเช่นนั้น
ย่อมไม่ทะเลาะกันอีกต่อไป

The common people know not
That in this Quarrel they will perish,
But those who realize this truth
Have their Quarrels calmed thereby.

๗. สุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
อินฺทฺริเยสุ อสํวุตํ
โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญู
กุสีตํ หีนวีริยํ
ตํ เว ปสหตี มาโร
วาโต รุกฺขํว ทุพฺพลํ ฯ ๗ ฯ

มารย่อมสามารถทำลายบุคคล
ผ้ตกดป็นทาสของความสวยงาม
ไม่ควบคุมการแสดงออก
ไม่ร้ประมาณในโภชนาหาร
เกียจคร้านและอ่อนแอ
เหมือนลมแรงพัดโค่นต้นไม้ที่ไม่แข็งแรง

As the wind overthrows a weak tree,
So does Mara overpower him
Who lives attached to sense pleasures
Who lives with his senses uncontrolled,
Who knows not moderation in his food,
And who is indolent and inactive.

๘. อสุภานุปสฺสึ วิหรนฺตํ
อินฺทฺริเยสุ สุสํวุตํ
โภชนมฺหิ จ มตฺตญฺญู
สทฺธํ อารทฺธวีริยํ
ตํ เว นปฺปสหตี มาโร
วาโต เสสํว ปพฺพตํ ฯ ๘ ฯ

มารย่อมไม่สามารถทำลายบุคคล
ผู้ไม่ตกเป็นทาสของความสวยงาม
รูจักควบคุมการแสดงออก
รู้ประมาณในโภชนาหาร
มีศรัทธา และมีความขยันหมั่นเพียร
เหมือนลมไม่สามารถพัดโค่นภูเขา

As the wind does not overthrow a rocky mount,
So Mara indeed does not overpower him
Who lives unattached to sense pleasures,
Who lives with his senses well-controlled,
Who knows moderation in his food,
And who is full of faith and high vitality.

๙. อนิกฺกสาโว กาสาวํ
โย วตฺถํ ปริทเหสฺสติ
อเปโต ทมสจฺเจน
น โส กาสาวมรหติ ฯ ๙ ฯ

คนที่กิเลสครอบงำใจ
ไร้การบังคับตนเองและไร้สัตย์
ถึงจะครองผ้ากาสาวพัสตร์
ก็หาคู่ควรไม่

whosoever, not freed from defilements,
Without self-control and truthfulness,
Should put on the yellow robe-
He is not worthy of it.

๑๐. โย จ วนฺตกสาวสฺส
สีเลสุ สุสมาหิโต
อุเปโต ทมสจฺเจน
ส เว กาสาวมรหติ ฯ ๑๐ ฯ

ผู้หมดกิเลสแล้ว มั่นคงในศีล
รู้จักบังคับตนเอง และมีสัตย์
ควรครองผ้ากาสาวพัสตร์แท้จริง

But he who discared defilements,
Firmly established in moral precepts,
Possessed of self-control and truth,
Is indeed worthy of the yellow robe.

๑๑. อสาเร สารมติโน
สาเร จ อสารททสฺสิโน
เต สารํ นาธิคจํฉนฺติ
มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา ฯ ๑๑ ฯ

ผู้ใดเห็นสิ่งที่ไม่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ
เห็นสิ่งที่เป็นสาระ ว่าไร้สาระ
ผู้นั้นมีความคิดผิดเสียแล้ว
ย่อมไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ

In the unessential they imagine the essential,
In the essential they see the unessential;
They who feed on wrong thoughts as such
Never achieve the essential.

๑๒. สารญฺจ สารโต ญตฺวา
อาสารญฺจ อสารโต
เต สารํ อธิคจฺฉนฺติ
สมฺมาสงฺกปฺปโคจรา ฯ ๑๒ ฯ

ผู้ที่เข้าใจสิ่งที่เป็นสาระ ว่าเป็นสาระ
และสิ่งที่ไร้สาระว่าไร้สาระ
มีความคิดเห็นชอบ
ย่อมประสบสิ่งที่เป็นสาระ

Knowing the essential as the essential,
And the unessential as the unessential,
They who feed on right thoughts as such
Achieve the essential.

๑๓. ยถา อคารํ ทุจฺฉนฺนํ
วุฎฺฐิ สมติวิชฺฌติ
เอวํ อภาวิคํ จิตฺตํ
ราโค สมติวิชฺฌติ ฯ ๑๓ ฯ

เรือนที่มุงไม่เรียบร้อย
ฝนย่อมไหลย้อยเข้าได้
ใจที่ไม่อบรมฝึกหัด
ราคะกำหนัดย่อมครอบงำ

Even as rain into an ill-thatched house,
Even so lust penetrates an undeveloped mind.

๑๔. ยถา อคารํ สุจฺฉนฺนํ
วุฎฺฐิ น สมติวิชฺฌติ
เอวํ สุภาวิตํ จิตฺตํ
ราโค น สมติวิชฺฌติ ฯ ๑๔ ฯ

เรือนที่มุงเรียบร้อย
ฝนย่อมไหลย้อยเข้าไม่ได้
ใจที่อบรมเป็นอย่างดี
ราคะไม่มีวันเข้าครอบงำ

Even as rain gets not into a well-thatched house,
Even so lust penetrates not a well-developed mind.

๑๕. อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ
ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ
โส โสจติ โส วิหญฺญติ
ทิสิวา กมฺมกิลิฎฺฐมตฺตโน ฯ ๑๕ ฯ

คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกนี้
คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกหน้า
คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง
คนทำชั่วย่อมเศร้าโศกเดือดร้อนยิ่งนัก
เมื่อมองเห็นแต่กรรมชั่วของตน

Here he grieves, hereaafter he grieves,
In both worlds the evil-doer grieves;
He mourns, he is afflicted,
Beholding his own impure deeds.

๑๖. อิธ โมทติ เปจฺจ โมทติ
กตปุญฺโญ อุภยตฺถ โมทติ
โส โมทติ ดส ปโมทติ
ทิสฺวา กมฺมวิสุทฺธิมตฺตโน ฯ ๑๖ ฯ

คนทำดีย่อมร่าเริงในโลกนี้
คนทำดีย่อมร่าเริงในโลกหน้า
คนทำดีย่อมร่าเริงในโลกทั้งสอง
คนทำดีย่อมร่าเริง เบิกบานใจยิ่งนัก
เมื่อมองเห็นแต่กรรมบริสุทธิ์ของตน

Here he rejoices, hereafter he rejoices,
In both worlds the well-doer rejoices;
He rejoices, exceedingly rejoices,
Seeing his own pure deeds.

๑๗. อิธ ตปฺปติ เปจิจ ตปฺปติ
ปาปการี อุภยตฺถ ตปฺปติ
ปาปํ เม กตนิติ ตปฺปติ
ภิยฺโย ตปฺปติ ทุคฺคตึ คโต ฯ ๑๗ ฯ

คนทำชั่วย่อมเดือดร้อนในโลกนี้
คนทำชั่วย่อมเดือดร้อนในโลกหน้า
คนทำชั่ว ย่อมเดือดร้อนในโลกทั้งสอง
เมื่อคิดได้ว่า ตนทำแต่กรรมชั่ว
ตายไปเกิดในทุคติ ยี่งเดือดร้อนหนักขึ้น

Here he laments, hereafter he laments,
In both worlds the evil-doer laments;
Thinking; 'Evil have I done', thus he laments,
Furthermore he laments,
When gone to a state of woe.

๑๘. อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ
กตปุญฺโญ อุภยตฺถ นนฺทติ
ปุญฺญํ เม กตนฺติ นนิทติ
ภิยฺโย นนฺทติ สุคตึ คโต ฯ ๑๘ ฯ

คนทำดีย่อมสุขใจในโลกนี้
คนทำดีย่อมสุขใจในโลกหน้า
คนทำดีย่อมสุขใจในโลกทั้งสอง
เมื่อคิดว่าตนได้ทำแต่บุยกุศล ย่อมสุขใจ
ตายไปเกิดในสุคติ ยิ่งสุขใจยิ่งขึ้น

Here he is happy, hereafter he is happy,
In both worlds the well-doer is happy;
Thinking; 'Good have I done', thus he is happy,
When gone to the state of bliss.

๑๙. พหุมฺปิ เจ สํหิตํ ภาสมาโน
น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต
โคโปว คาโว คณยํ ปเรสํ
น ภาควา สามญฺญสฺส โหติ ฯ ๑๙ * ฯ

คนที่ท่องจำตำราได้มาก
แต่มัวประมาทเสีย ไม่ทำตามคำสอน
ย่อมไม่ได้รับผลที่พึงได้จากการบวช
เหมือนเด็กเลี้ยงโค นับโคให้คนอื่นเขา

Though much he recites the Sacred Texts,
But acts not accordingly, the heedless man
is like the cowherd who counts others'kine;
He has no share in religious life.

* สํหิต หมายถึง สํหิตา หรือคัมภีร์ว่าด้วยกฎสนธิของคำและวิธีสวด
พระเวทให้ถูกต้องแบ่งเป็น ๓ คัมภีร์คือ ฤคเวทสํหิตา สามเวทสํหิตา
และอถรรพเวทสํหิตา ภายหลังเพิ่มยชุรเวทสํหิตาอีก ๒ คัมภีร์ รวมเป็น ๕
พุทธศาสนายืมศัพท์นี้มาใช้ เมื่อเราไม่มีพระเวทอย่างพราหมณ์ คำนี้จึง
หมายความเพียง ตำรา หรือคัมภีร์ศาสนา ส่วนพระอรรถกถาจารย์ให้
แปลว่า คำอันประกอบด้วยประโยชน์ ท่านคงคิดว่าคำนี้เขียน สหิตํ (ส + หิตํ) กระมัง


๒๐. อปฺปมฺปิ เจ สํหิตํ ภาสมาโน
ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี
ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมหํ
สมฺมปฺปชาโน สุวิมุตฺตจิตฺโต
อนุปาทิยาโน อิธ วา หุรํ วา
ส ภาควา สามญฺญสฺส โหติ ฯ ๒๐ ฯ

ถึงจะท่องจำตำราได้น้อย
แต่ประพฤติชอบธรรม
ละราคะ โทสะ และโมหะได้
รู้แจ้งเห็นจริง มีจิตหลุดพ้น
ไม่ยึดมั่น ถือมั่น ทั้งปัจจุบันและอนาคต
เขาย่อมได้รับผลที่พึงได้จากการบวช

Though little he recites the Sacred Texts,
But puts the precepts into practice,
Forsaking lust, hatred and delusion,
With rigth knowledge, with mind well freed,
Cling to nothing here or hereafter,
He has a share in religious life.

ออมสิน:
๒. หมวดไม่ประมาท
HEEDFULNESS

๒๑. อปฺปมาโท อมตํปทํ
ปมาโท มจฺจุโน ปทํ
อปฺปมตฺตา น มียนฺติ
เย ปมตฺตา ยถา มตา ฯ ๒๑ ฯ

ความไม่ประมาท เป็นทางอมตะ
ความประมาท เป็นทางแห่งความตาย
ผู้ไม่ประมาท ไม่มีวันตาย
ผู้ประมาท ถึงมีชีวิตอยู่ก็เหมือนคนตายแล้ว

Heedfulness is the way to the Deathless;
Heedlessness is the way to death.
The heedful do not die;
The heedless are like unto the dead.

๒๒. เอตํ วิเสสโต ญตฺวา
อปฺปมาทมฺหิ ปณฺฑิตา
อปฺปมาเท ปโมทนฺติ
อริยานํ โคจเร รตา ฯ ๒๒ ฯ

บัณฑิตรู้ข้อแตกต่าง
ระหว่างความประมาทกับความไม่ประมาท
จึงยินดีในความไม่ประมาท
อันเป็นแนวทางของพระอริยะ

Realzing this distinction,
The wise rejoice in heedfulness,
Which is the way of the Noble.

๒๓. เต ฌายิโน สาตติกา
นิจฺจํ ทฬฺหปรกฺกมา
ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพานํ
โยคกฺเขมํ อนุตฺตรํ ฯ ๒๓ ฯ

ท่านผู้ฉลาดเหล่านั้น หมั่นเจริญกรรมฐาน
มีความเพียรมั่นอยู่เป็นนิจศีล
บรรลุพระนิพพานอันเป็นสภาวะที่สูงส่ง
อิสระจากกิเลสเครื่องผูกมัด

These wise, constantly meditative,
Ever earnestly persevering,
Attain the bond-free, supreme Nibbana.

๒๔. อุฎฺฐานวโต สติมโต
สุจิกมฺมสฺส นิสสมฺมการิโน
สญฺญตสฺส จ ธมฺมชีวิโน
อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฺฒติ ฯ ๒๔ ฯ

ยศย่อมเจริญแก่ผู้ขยัน
มีสติ มีการงานสะอาด
ทำงานด้วยความรอบคอบระมัดระวัง
เป็นอยู่โดยชอบธรรม ไม่ประมาท

Of him who is energetic, mindeful,
Pure in deed, considerate, self-restrained,
Who lives the Dhamma and who is heedful,
Reputation steadily increases.

๒๕. อุฎฺฐาเนนปฺปมาเทน
สญฺญเมน ทเมน จ
ทีปํ กยิราถ เมธาวี
ยํ โอโฆ นาภิกีรติ ฯ ๒๕ ฯ

ด้วยความขยัน ด้วยความไม่ประมาท
ด้วยความสำรวมระวัง และด้วยการข่มใจตนเอง
ผู้มีปัญญาควรสร้างเกาะ (ที่พึ่ง) แก่ตนเอง
ที่ห้วงน้ำ (กิเลส) ไม่สามารถท่วมได้

By diligence, vigilance,
Restraint and self-mastery,
Let the wise make for himself an island
That no flood can overwhelm.

๒๖. ปมาทมนุยุญฺชนติ
พาลา ทุมฺเมธิโน ชนา
อปฺปมาทญฺจ เมธาวี
ธนํ เสฎฺฐํว รกฺขติ ฯ ๒๖ ฯ

คนพาล ทรามปัญญา
มักมัวประมาทเสีย
ส่วนคนฉลาด ย่อมรักษาความไม่ประมาท
เหมือนรักษาทรัพย์อันประเสริฐ

The ignorant, foolish folk
Induge in heedlessness,
But the wise preserve heedfulness
As their greatest treasure.

๒๗. มา ปมาทมนุยุญฺเชถ
มา กามรติสนฺถวํ
อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต
ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ ฯ ๒๗ ฯ

พวกเธออย่ามัวประมาท
อย่ามัวเอาแต่สนุกยินดีในกามคุณอยู่เลย
ผู้ไม่ประมาท เพ่งพินิจตามความเป็นจริงเท่านั้น
จึงจะบรรลุถึงความสุขอันไพบูลย์ได้

Devote not yourselves to negligence;
Have no intimacy with sensuous delights.
The vigilant, meditative person
Attains sublime bliss.

๒๘. ปมาทํ อปฺปมาเทน
ยถา นุทติ ปณฺฑิโต
ปญฺญาปาสาทมารุยฺห
อโสโก โสกินี ปชํ
ปพฺพตฎฺโฐว ภุมฺมฎฺเฐ
ธีโร พาเล อเวกฺขติ ฯ ๒๘ ฯ

เมื่อใดบัณฑิตกำจัดความประมาทด้วยความไม่ประมาท
เมื่อนั้นเขานับว่าได้ขึ้นสู่ "ปราสาทคือปัญญา"
ไร้ความเศร้าโศก สามารถมองเห็นประชาชน ผู้โง่เขลา
ผู้ยังต้องเศร้าโศกอยู่ เหมือนคนยืนบนยอดภูเขา
มองลงมาเห็นฝูงชนที่ยืนอยู่บนพื้นดิน ฉะนั้น

When banishing carelessness by carefulness,
The sorrowless, wise one ascends the terrace of wisdom
And surveys the ignorant, sorrowing folk
As one standing on a mountain the groundlings.

๒๙. อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสุ
สุตฺเตสุ พหุชาคโร
อพลสฺสํว สีฆสฺโส
หิตฺวา ยาติ สุเมธโส ฯ ๒๙ ฯ

ผู้มีปัญญามักไม่ประมาท เมื่อคนอื่นพากันประมาท
และตื่น เมื่อคนอื่นหลับอยู่
เขาจึงละทิ้งคนเหล่านั้นไปไกล
เหมือนม้าฝีเท้าเร็ว วิ่งเลยม้าแกลบ ฉะนั้น

Heedful among the heedless,
Wide-awake among those asleep,
The wise man advances
As a swift horse leaving a weak nag behind.

๓๐. อปฺปมาเทน มฆวา
เทวานํ เสฎฺฐตํ คโต
อปฺปมาทํ ปสํสนฺติ
ปมาโท ครหิดต สทา ฯ ๓๐ ฯ

ท้าวมฆวานได้เป็นใหญ่กว่าทวยเทพ
เพราะผลของความไม่ประมาท
บัณฑิตจึงสรรเสริญความไม่ประมาท
และติเตียนความประมาททุกเมื่อ

By vigilance it was that
Indra attained the lordship of the gods.
Earnestness is ever praised,
Carelessness is ever despised.

๓๑. อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ
ปมาเท ภยทสิสิ วา
สญฺโญชนํ อณุ ถูลํ
ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ ฯ ๓๑ * ฯ

ภิกษุผู้ยินดีในความไม่ประมาท
เห็นภัยในความประมาท
ย่อมเผากิเลสเครื่องผูกมัดได้
เหมือนไฟเผาเชื้อทุกชนิด

The bhikkhu who delights in earnesstness
And discerns dangers in negligence,
Advances, consuming all fetters,
Like fire burning fuel, both small and great.

* ภยทสฺสิ วา ที่ถูกเขียนภยทสฺสี วา แต่สระอี เป็น อิ ด้วยอำนาจ
ฉันทลักษณ์ อีกนัยหนึ่งเขียนติดกันเป็น ภยทสฺสิวา

๓๒. อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ
ปมาเท ภยทสฺสิ วา
อภพฺโพ ปริหานาย
นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก ฯ ๓๒ ฯ

ภิกษุผู้ไม่ประมาท
เห็นภัยในความประมาท
ไม่ม่ทางเสื่อม
ย่อมอยู่ใกล้นิพพานเป็นแน่แท้

The bhikkhu who delights in earnestness,
And discerns dangers in negligence,
Is not lisble to fall away;
He is certainly in the presence of Nibbana.

ออมสิน:
๓. หมวดจิต
The MIND

๓๓. ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ
ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ
อุชุ กโรติ เมธาวี
อุชุกาโรว เตชนํ ฯ ๓๓ ฯ

จิตดิ้นรน กลับกลอก
ป้องกันยาก ห้ามยาก
คนมีปัญญาสามารถดีดให้ตรงได้
เหมือนช่างศรดัดลูกศร

The flickering , fickle mind,
Difficult to guard, difficult to control,
The wise man straightens,
As a fletcher straightens an arrow.

๓๔. วาริโชว ถเล ขิตฺโต
โอกโมกต อุพฺภโต
ปริผนํทติทํ จิตฺตํ
มารเธยฺยํ ปหาตเว ฯ ๓๔ ฯ

มัสยาถูกเขาจับโยนไปบนบก ย่อมดิ้นรน
เพื่อจะกลับไปยังแหล่งน้ำที่เคยอาศัย
จิตใจเราก็เช่นเดียวกัน ดิ้นรนไปหากามคุณ
เพราะฉะนั้น จึงควรละเว้นกามคุณเสีย

Like a fish drawn its watery abode
And thrown upon land,
Even so does the mind flutter,
Hence should the realm of passions be shunned.

๓๕. ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน
ยตฺถกามนิปาติโน
จิติตสิส ทมโถ สาธุ
จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ ฯ ๓๕ ฯ

จิตควบคุมยาก เปลี่ยนแปลงเร็ว
ใฝ่ในอารมณ์ตามที่ใคร่
ฝึกจิตเช่นนั้นได้เป็นการดี
เพราะจิตที่ฝึกดีแล้ว นำความสุขมาให้

Good is it to control the mind
Which is hard to check and swift
And flits wherever it desires.
A subdued mind is conducive to happiness.

๓๖. สุทุทฺทสั สุนิปุณํ
ยตฺถกามนิปาตินํ
จิตฺตํ รกิเขถ เมธาวี
จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ ฯ ๓๖ ฯ

จิตเห็นได้ยาก ละเอียดยิ่งนัก
มักใฝ่ในอารมณ์ตามที่ใคร่
ผู้มีปัญญาจึงควรควบคุมจิตไว้ให้ดี
เพราะจิตที่ควบคุมได้แล้ว นำสุขมาให้

Hard to perceive and extremely subtle is this mind,
It roams wherever it desires.
Let the wise man guard it;
A guarded mind is conducive to happiness.

๓๗. ทูรงฺคมํ เอกจรํ
อสรีรํ คุหาสยํ
เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ
โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ฯ ๓๗ ฯ

จิตท่องเที่ยวไปไกล เที่ยวไปดวงเดียว
ไม่มีรูปร่าง อาศัยอยู่ในร่างกายนี้
ใครควบคุมจิตนี้ได้
ย่อมพ้นจากบ่วงมาร

Faring afar, solitary, incorporeal
Lying in the body, is the mind.
Those who subdue it are freed
From the bond od Mara.

๓๘. อนวฎฺฐิตจิตฺตสิส
สทฺธมฺมํ อวิชานโต
ปริปุลวปสาทสฺส
ปญฺญา น ปริปูรติ ฯ ๓๘ ฯ

ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
แก่ผู้มีจิตไม่มั่นคง
ไม่รู้พระสัทธรรม
มีความเลื่อมใสไม่จริงจัง

He whose mind is inconstant,
He who knows not the true doctrine,
He whose confidence wavers-
The wisdom of such a one is never fulfilled.

๓๙. อนวสฺสุตจิตฺตสฺส
อนนุวาหตเจตโส
ปุญฺญปาปปหีนสฺส
นตฺถิ ชาครโต ภยํ ฯ ๓๙ ฯ

ผู้มีสติตื่นตัวอยู่เนืองนิตย์
มีจิตเป็นอิสระจากราคะและโทสะ
ละบุญและบาปได้
ย่อมไม่กลัวอะไร

He who is vigilant,
He whose mind is not overcome by lust and hatred,
He who has discarded both good and evil-
For such a one there is no fear.

๔๐. กุมภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา
นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา
โยเชถ มารํ ปญฺญาวุเธน
ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยา ฯ ๔๐ ฯ

เมื่อรู้ว่าร่างกายนี้แตกดับง่ายเหมือนหม้อน้ำ
พึงป้องกันจิตให้มั่นเหมือนป้องกันเมืองหลวง
แล้วพึงรบกับพญามารด้วยอาวุธคือปัญญา
เมื่อรบชนะแล้วพึงรักษาชัยชนะนั้นไว้
ระวังอย่าตกอยู่ในอำนาจมารอีก

Realizing that body is fragile as a pot,
Establishing one's mind as firm as a fortified city,
Let one attack let one guard one's conqust
And afford no rest to Mara.

๔๑. อจิรํ วตยํ กาโย
ปฐวึ อธิเสสฺสติ
ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ
นิรตฺถํว กลิงฺครํ ฯ ๔๑ ฯ

อีกไม่นาน ร่างกายนี้
จักปราศจากวิญญาณ
ถูกทอดทิ้ง ทับถมแผ่นดิน
เหมือนท่อนไม้อันหาประโยชน์มิได้

Soon, alas! will this body lie
Upon the ground, unheeded,
Devoid of consciousness,
Even as useless log.

๔๒. ทิโส ทิสํ ยนฺตํ กยิรา
เวรี วา ปน เวรินํ
มิจฺฉาปณิหิตํ จิตฺตํ
ปาปิดย น ตโต กเร ฯ ๔๒ ฯ

จิตที่ฝึกฝนผิดทาง
ย่อมทำความเสียหายได้
ยิ่งกว่าศัตรูทำต่อศัตรู
หรือคนจองเวรทำต่อคนจองเวร

Whatever harm a foe may do to a foe,
Or a hater to a hater,
An ill-directed mind
Can harm one even more.

๔๓. น ตํ มาตา ปิตา กยิรา
อญฺเญ วาปิจ ญาตกา
สมฺมาปณิหิตํ จิตฺตํ
เสยฺยโส นํ ตโต กเร ฯ ๔๓ ฯ

มารดาก็ทำให้ไม่ได้ บิดาก็ให้ไม่ได้
ญาติพี่น้องก็ทำให้ไม่ได้
แต่จิตที่ฝึกฝนไว้ชอบย่อมทำสิ่งนั้นให้ได้
และทำให้ได้อย่างประเสริฐด้วย

What neither mother ,nor father,
Nor any other relative can do,
A well-directed mind does
And thereby elevates one.